แผงโซลาร์คือองค์ประกอบหลักในระบบพลังงานโซลาร์ ทั้งภายในที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ ใช้แนวทางนี้เพื่อเปรียบเทียบตัวเลือกในการซื้อโซลาร์เซลล์ชนิดต่างๆ แล้วทำความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ตัวไหนเหมาะสำหรับคุณมากที่สุด
แผงโซลาร์เซลล์?
แผงโซลาร์คืออุปกรณ์ที่เก็บแสงแดดมาแล้วนำไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าที่ใช้งานได้ แผงโซลาร์มักจะทำมาจากโซลาร์เซลล์ (ที่ทำจากซิลิคอน), สายไฟ, กรอบโลหะ และฝากระจกครอบ แผงโซลาร์เซลล์ทั่วไปมีความกว้างประมาณ 100 ซม. และสูง 165 ซม.
องค์ประกอบใดที่ก่อให้เกิดระบบโซลาร์เซลล์
การติดตั้งแผงโซลาร์คือสิ่งที่ตรงไปตรงมา ระบบโซลาร์เซลล์ทุกแบบมีเพียงแค่สี่ส่วนประกอบหลักเท่านั้น ไม่มีส่วนที่ขยับได้ ทำให้ติดตั้งและบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบหลักของระบบโซลาร์เซลล์ทั้งสี่ส่วนได้แก่
- แผงโซลาร์เซลล์ – เพื่อแปลงพลังงานโซลาร์เป็นไฟฟ้า
- อินเวอร์เตอร์ – เพื่อแปลงไฟฟ้า DC เป็นไฟฟ้า AC
- ระบบวางและยึดติด – เพื่อยึดแผงโซลาร์เซลล์เข้ากับหลังคา (หรือพื้น ขึ้นอยู่กับประเภทการติดตั้งของคุณ)
- ระบบติดตามดูประสิทธิภาพ – เพื่อติดตามดูเอาท์พุตและสุขภาพของแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์
แผงโซลาร์เซลล์
แผงโซลาร์เซลล์ประกอบด้วยโซลาร์เซลล์ซิลิคอนที่มีแผ่นกระจก ยึดเข้าด้วยกันด้วยกรอบโลหะ พร้อมมีการต่อสายและวงจรทั้งด้านในและด้านหลังเซลล์เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน สายไฟในเซลล์จะเก็บการไหลของอิเล็กตรอน จากนั้นจึงนำมาประกอบรวมกับเอาท์พุตจากเซลล์อื่นๆ ในแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของแผงโซลาร์และการทำงานของโซลาร์เซลล์ ลองอ่านบทความของเราเกี่ยวกับหัวข้อนี้
แผงโซลาร์แต่ละแผง หรือที่เรียกว่าโมดูลโซลาร์ มักจะมีขนาดประมาณ 165×100 ซม. และหนักประมาณ 22 กก.
โดยปกติแล้ว โซลาร์เซลล์จะมาในรูปแบบ 60 หรือ 72 เซลล์ แต่หลายบริษัทกำลังทดลองวิธีใหม่ ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า ดังนั้นคุณอาจจะได้เห็นแผงโซลาร์แบบ “half-cut” ที่เซลล์แต่ละเซลล์จะถูกตัดแบ่งครึ่ง เพื่อให้คุณมีจำนวนเซลล์ในโมดูลมากขึ้น (นั่นคือ 120 หรือ 144 เซลล์)
อินเวอร์เตอร์
เซลล์ในแผงโซลาร์ของคุณจะเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ แล้วนำไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แต่บ้านและธุรกิจส่วนใญ่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งอินเวอร์เตอร์จะมาเปลี่ยนไฟฟ้า DC จากแผงของคุณให้เป็นไฟฟ้า AC ที่ใช้งานได้
อินเวอร์เตอร์โซลาร์มีอยู่สองประเภทพื้นฐานด้วยกัน ได้แก่ สตริงอินเวอร์เตอร์ (หรืออีกชื่อคือ เซ็นทรัลอินเวอร์เตอร์) และไมโครอินเวอร์เตอร์ สตริงอินเวอร์เตอร์สามารถเพิ่มตัวเพิ่มประสิทธิภาพด้านกำลังให้ทำงานคล้ายกับระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ได้ อินเวอร์เตอร์เหล่านี้มีการใช้งานมากที่สุดในประเทศไทยและไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาบ่อย อ่านบทความของเราเกี่ยวกับอินเวอร์เตอร์โซลาร์เซลล์เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
ระบบวางและยึดติด
ระบบวางและยึดติดแผงโซลาร์คือชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ที่ยึดแผงโซลาร์เซลล์เข้ากับหลังคาหรือพื้นดินของคุณ
เพื่อให้ใช้งานได้ประสิทธิภาพที่สุดในประเทศไทย โซลาร์เซลล์ควรหันหน้าไปทางทิศใต้และติดตั้งที่มุมระหว่าง 13-15 องศา แผงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกที่มุมห้าองศาหรือมากกว่าจะยังคงทำงานได้ดีอยู่ แต่จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าแผงโซลาร์ที่ติดตั้งในสภาวะในอุดมคติอยู่ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
สำหรับโซลาร์ภายในที่อยู่อาศัย ระบบติดบนหลังคาจะเป็นแบบ “lie-flat” ซึ่งแปลว่าแผงโซลาร์จะขนานไปกับหลังคา ในบางกรณี คุณสามารถใช้ชั้นวางเพื่อเอียงหรือปรับตำแหน่งแผงโซลาร์ให้อยู่ในมุมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจับแสงอาทิตย์
ที่ยึดติดมีอยู่สองประเภทด้วยกัน ได้แก่ ที่ยึดคงที่ ซึ่งแผงโซลาร์จะอยู่กับที่ และที่ยึดแบบตามติด ซึ่งจะทำให้แผงโซลาร์สามารถ “หันตาม” ดวงอาทิตย์ได้ตลอดเวลาที่ดวงอาทิตย์ขยับในช่วงกลางวัน (ที่ยึดแบบตามติดในแกนเดี่ยว) และในระหว่างที่เปลี่ยนฤดู (ที่ยึดแบบตามติดในแกนคู่) ที่ยึดแบบตามติดเหมาะสำหรับโซลาร์ที่ยึดกับพื้นเท่านั้น
ระบบและแอปสำหรับติดตามประสิทธิภาพ
ระบบติดตามประสิทธิภาพจะทำให้คุณได้รับข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบแผงโซลาร์เซลล์ของคุณ เมื่อใช้ระบบติดตาม คุณจะสามารถวัดผลและติดตามดูปริมาณไฟฟ้าที่ระบบของคุณผลิตได้ในรายชั่วโมง
อินเวอร์เตอร์ที่ใช้กันบ่อยในตลาดสำหรับที่อยู่อาศัยนั้นต่างมาพร้อมกับแอปติดตามปริมาณการผลิตหมดแล้ว เพื่อให้คุณสามารถติดตามดูเอาท์พุตของแผงโซลาร์ของคุณเองได้ ในบางกรณี แอปอาจให้ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าด้วย เพื่อช่วยคุณติดตามดูเงินที่ประหยัดไปได้จากการใช้ระบบโซลาร์เซลล์
การติดตามดูระบบแผงโซลาร์ของคุณจะทำให้คุณสามารถหาปัญหาด้านประสิทธิภาพจนเจอ ส่งผลให้คุณสามารถผลิตไฟฟ้าและได้รับผลตอบแทนจากระบบแผงโซลาร์เซลล์ของคุณในระดับสูงสุด
เรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อระบบแผงโซลาร์เซลล์
การซื้อแผงโซลาร์เซลล์ไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินใจได้ง่ายเลย คุณต้องศึกษาข้อมูลเพื่อให้เข้าใจว่าช่างผู้ติดตั้งเก็บเงินคุณค่าอะไรบ้าง การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์คือการลงทุนในระยะยาวที่ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเหมาะหรือไม่เหมาะกับคุณก็ได้
ประเภทของระบบแผงโซลาร์เซลล์
การติดตั้งที่คุณสามารถเลือกได้นั้นมีอยู่ทั้งหมดสามประเภทด้วยกัน ได้แก่:
- Off-grid – ประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับกริดของการไฟฟ้าเลย และคุณต้องใช้แบตเตอรี่เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ในตอนกลางคืน
- On-grid – ระบบ On-grid เชื่อมต่อเข้ากับกริดของการไฟฟ้า และในตอนกลางวัน ไฟฟ้า AC จะใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ ในขณะที่ตอนกลางคืนคุณจะต้องเสียเงินค่าไฟเหมือนปกติ
- ระบบไฮบริด – นี่คือระบบ on-grid ที่มีพร้อมกับแบตเตอรี่ ทำให้คุณสามารถใช้พลังงานโซลาร์ได้ในระหว่างวันพร้อมกับได้ชาร์จแบตเตอรี่ไปด้วย หากไฟหมดในตอนกลางคืน ระบบจะสลับกลับไปใช้ไฟฟ้าจากกริดโดยอัตโนมัติ
ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์
แผงโซลาร์แบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามประเภทของเซลล์ ได้แก่ โมโนคริสตัลไลน์และโพลี่คริสตัลไลน์ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีโซลาร์อื่น ๆ มาแล้ว (เช่น เซลล์ฟิล์มบาง) แต่แผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่ที่มีให้ติดตั้งจะเป็นแบบโมโนคริสตัลไลน์หรือโพลี่คริสตัลไลน์ และทั้งสองตัวนี้ทำมาจากซิลิคอน
- แผงโซลาร์เซลล์โมโนคริสตัลไลน์ คือผลิตภัณฑ์โซลาร์ระดับพรีเมี่ยมและทำมาจากแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนที่ตัดมาจากคริสตัลเดี่ยว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แผงประเภทนี้ชื่อว่า “โมโนคริสตัลไลน์” โดยทั่วไปแล้ว แผงโมโนคริสตัลไลน์มีประสิทธิภาพที่มากกว่าแผงโพลี่คริสตัลไลน์
- แผงโซลาร์โพลี่คริสตัลไลน์ก็ทำมาจากซิลิคอนเหมือนกัน แต่เซลล์ของแผงประเภทนี้ทำมาจากการหลอมรวมชิ้นส่วนของซิลิคอนแทนการใช้คริสตัลซิลิคอนเดี่ยว แม้ว่าแผงโซลาร์แบบโพลี่คริสตัลไลน์จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าโมโนคริสตัลไลน์ แต่แผงประเภทนี้ก็มักจะมีราคาที่ถูกกว่า
คุณภาพของแผงโซลาร์ – เทียร์
แผงโซลาร์เซลล์ทียร์ 1 คือผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือมากที่สุด เช่น SunPower, LG, REC และ Panasonic ช่างติดโซลาร์ทุกคนไม่ได้มีแผงนี้อยู่ในสต็อก หรืออาจจะมีราคาที่แพงมากในประเทศไทย มักจะมีการผลิตในประเทศจีน อเมริกา และเยอรมนี มาพร้อมกับประกัน 25-30 ปี
แผงโซลาร์เซลล์เทียร์ 2 คือสิ่งที่คุณจะพบได้บ่อยเมื่อไปตามร้านขายโซลาร์เซลล์ในท้องถิ่น คุณภาพก็ไม่ได้แย่นะ แค่ไม่ได้ผลิตมาจากบริษัทระดับนานาชาติเท่านั้นเอง ยังคงมีประกัน 25 ปีอยู่เหมือนเทียร์ 1 แถมยังให้พลังงานที่เพียงพอสำหรับคนที่มีหลังคาบ้านขนาดใหญ่
แผงโซลาร์เซลล์เทียร์ 3 คือสิ่งที่เราแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยง เพราะเทียร์นี้เป็นแผงคุณภาพต่ำและมาจากบริษัทที่มีโอกาสล้มละลายก่อนที่จะหมดช่วงรับประกัน แผงเทียร์นี้มักจะเป็นแผงโซลาร์เซลล์ถูก ๆ ที่คุณสามารถหาซื้อได้จาก Lazada หรือ Shopee
ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์
การที่แผงโซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพมากหรือน้อยกว่าแผงอื่นๆ มีความหมายว่าอะไร พูดง่าย ๆ ก็คือ ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์คือตัววัดความสามารถของแผงโซลาร์ในการแปลงแสงแดดท่ีได้รับให้เป็นไฟฟ้า สิ่งนี้คือเรื่องสำคัญเรื่องจากยิ่งแผงโซลลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ แผงนั้นก็จะสามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้นโดยใช้พื้นที่น้อยกว่ารุ่นที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า แผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่ในตลาดทุกวันนี้มีประสิทธิภาพตั้งแต่ 15% ถึง 20% แต่ผู้ผลิตบางราย (เทียร์ 1) ขายแผงที่ให้อัตราประสิทธิภาพที่มากกว่า 20%
คุณต้องใช้แผงโซลาร์กี่ชิ้น
สิ่วแรกที่คุณควรพิจารณาเมื่อหาคำตอบให้กับคำถามนี้ คือ การหาว่าครัวเรือนของคุณใช้พลังงานมากแค่ไหนต่อเดือน สิ่งนี้สำคัญต่อการหาว่าคุณจำเป็นต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์กี่แผง และประเภทใดที่เหมาะสำหรับบ้านของคุณที่สุด โมโนคริสตัลไลน์หรือโพลี่คริสตัลไลน์
จากนั้นให้พิจารณาจากขนาดหลังคาของคุณ หากหลังคาบ้านคุณมีขนาดเล็ก คุณจะต้องใช้ระบบแผงโซลาร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้ได้พลังงานต่อตารางเมตรมากขึ้น ส่งผลให้ใช้พื้นที่โดยรวมน้อยลงและอาจติดได้พอดีกับหลังคาของคุณ
ตัวอย่าง: หากคุณมีแผงโซลาร์เซลล์ 360 W ประสิทธิภาพสูงจำนวน 12 แผง คุณจะผลิตไฟได้ประมาณ 4,000 Wh (หรือ 4 KWh)
หากคุณมีแผง 270 W ประสิทธิภาพต่ำ 12 แผง คุณจะผลิตไฟได้เพียง 3,000 Wh เท่านั้น
ทั้งนี้ นี่ไม่ใช่กฎเหล็กสำหรับการหาว่าบ้านของคุณต้องติดแผงโซลาร์เซลล์กี่แผงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด แต่เมื่อบ้านคุณเล็กมากเท่าไหร่ จำนวนแผงที่ติดได้ก็น้อยลงเท่านั้น ขอแค่ตรวจสอบให้ดีว่าประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานอยู่ในระดับที่ดี เพื่อให้คุณได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
ซื้อแบตเตอรี่ดีไหม
ขอดีหลักของการติดตั้งแผงโซลาร์และแบตเตอรี่คือการทำให้คุณสามารถไฟฟ้าจากโซลาร์ได้ แม้ว่าแสงอาทิตย์จะไม่ส่องมา
เมื่อคุณติดตั้งระบบแผงโซลาร์โดยไม่มีแบตเตอรี่ ไฟฟ้าที่ระบบของคุณผลิตเกินมาจะ “เสียทิ้ง” เมื่อใช้แบตเตอรี่โซลาร์ พลังงานจะถูกจัดเก็บเอาไว้และถูกดึงมาใช้เมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน คุณเพียงแค่ต้องดึงพลังงานมาใช้แล้วจ่ายค่าไฟจากการไฟฟ้าเมื่อแบตเตอรี่ของคุณหมด นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า ระบบไฮบริด
สิ่งที่ทำให้คุณเลือกซื้อแบตเตอรี่มักจะเป็นการที่คุณนอนในทุ่งหรือในป่าที่ห่างไกลจากกริดของการไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายของแบตเตอรี่แบบ deep-cycle หนึ่งก้อนเริ่มต้นที่ 3,000 บาท และสูงสุดที่ราคามากกว่า 30,000 บาท ด้วยราคาของแบตเตอรี่ที่แพง ทำให้มีบ้านหรือธุรกิจไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ซื้อแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่แล้วชาวนาหรือสายตั้งแคมป์กลางแจ้งจะเป็นคนที่เลือกซื้อแบตเตอรี่แผงโซลาร์เซลล์มากกว่า
ต้นทุนของแผงโซลาร์เซลล์
แผงโซลาร์เซลล์หนึ่งแผงมีราคาอยู่ระหว่าง 3,000 บาทถึง 7,000 บาทสำหรับผลิตภัณฑ์ชั้นนำ
ต้นทุนของการติดตั้งแผงโซลาร์จะแตกต่างกันออกไปตามสถานที่ ประเภทของคุณสมบัติ และแผงที่ใช้ในการติดตั้ง ผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์ระดับพรีเมี่ยมที่มีประสิทธิภาพสูงและมีประกันที่ดีมักจะมีต้นทุนล่วงหน้าสูงกว่า แต่จะทำให้คุณมีโอกาสประหยัดเงินได้มากขึ้นในระยะยาว
- บ้านทั่วไปในประเทศไทยอาจต้องจ่าย 160,000 ถึง 300,000 บาทสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ภายในบ้าน
- เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กอาจต้องจ่ายประมาณ 200,000 – 500,000 บาท
- ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหลายคนต้องจ่ายอย่างน้อยหนึ่งล้านบาท
วิธีที่ดีที่สุดในการประมาณว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์จะต้องใช้ต้นทุนเท่าไหร่คือการใช้เครื่องคำนวณโซลาร์จาก Siam Cell เครื่องมือของเราพิจารณาจากปริมาณแสงอาทิตย์ที่คุณได้รับ อัตราค่าไฟฟ้า เช่นเดียวกับแรงจูงใจด้านโซลาร์ เช่น การรับซื้อไฟฟ้า หรือการหักภาษีธุรกิจ..
คุณสามารถคาดหวังอะไรได้บ้างจากแผงโซลาร์เซลล์ในระยะยาว
การลงทุนในแผงโซลาร์เซลล์ถือเป็นการลงทุนในระยะยาวสำหรับเจ้าของบ้าน และถือเป็นการลงทุนระยะสั้นถึงระยะกลางสำหรับเจ้าของธุรกิจ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกันและบริการจึงเป็นสิ่งที่ดี
เมื่อไหร่แผงโซลาร์เซลล์ของฉันจะคุ้มทุน
เงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ในบ้านดีๆ จะอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาทโดยไม่มีแบตเตอรี่ หากคุณเปิดแอร์เป็นหลักในตอนกลางคืนแล้วไม่มีแบตเตอรี่เลย อาจใช้เวลาสูงสุด 8 ปีในการคุ้มทุนเนื่องจากการใช้พลังงานหลัก ๆ ของคุณอยู่ในช่วงเย็น กลางคืน และตอนเช้า
ธุรกิจขนาดเล็กที่มีแอร์/ตู้เย็น/อุปกรณ์ครัวที่เปิดใช้งานในช่วงกลางวัน ก็อาจคุ้มทุนได้เร็วกว่า ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 2-4 ปี
ประกันของแผงโซลลาร์เซลล์มีหลักการอย่างไร
ประกันของแผงโซลาร์เซลล์มีอยู่สองประเภทด้วยกัน ได้แก่ ประกันอุปกรณ์ (หรือวัสดุ) และประกันประสิทธิภาพ
- ประกันอุปกรณ์ คุ้มครองชิ้นส่วนของโซลาร์เซลล์ของคุณ เช่น ข้อบกพร่องจากการผลิต การสึกหรอก่อนเวลาอันควร และความเสียหายจากสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของประกันอุปกรณ์
- ประกันประสิทธิภาพ คุ้มครองการผลิตไฟฟ้าจริงจากแผงโซลาร์เซลล์ แผงโซลาร์เซลล์มักจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และในระหว่างช่วง 10 ปี แผงเหล่านี้อาจผลิตได้แค่ 90% ของประสิทธิภาพที่ระบุ ประกันประสิทธิภาพคือสิ่งที่รับประกันว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งคงที่ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง
แผงโซลาร์เซลล์ต้องซ่อมบำรุงบ่อยแค่ไหน
แผงโซลาร์แทบไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาทางเทคนิคเลย เว้นแต่ว่ามีการขัดข้องที่เกิดขึ้นกับระบบของคุณ หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แผงโซลาร์สกปรกจนน้ำฝนทำความสะอาดไม่ได้แล้ว เราขอแนะนำให้ทำความสะอาดเพื่อให้ระบบของคุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น หากคุณอาศัยอยู่ใกล้กับถนนลูกรัง คุณอาจต้องทำความสะอาดแผงทุกสัปดาห์ แต่หากคุณอาศัยอยู่ในกรุงเทพ คุณอาจต้องทำความสะอาดหนึ่งถึงสองครั้งต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ของคุณ
การเช็คระบบแผงโซลาร์ของคุณอาจเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ปีละครั้ง เหมือนกับการจ่ายภาษีรถยนต์หรือล้างแอร์ เราขอแนะนำให้คุณใช้บริการบริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากพวกเขาคือคนที่ต้องผิดชอบให้พนักงานเมื่อพวกเขาเหยียบแแผงโซลาร์ ไม่ใช่คุณ
จำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนใด ๆ หรือไม่
แผงโซลาร์เซลล์ใช้งานได้ 25 ปีขึ้นปี แต่ไม่ใช่ว่าแผงโซลาร์จะหยุดทำงานเมื่อถึงปีที่ 25 หรอกนะ แต่ประสิทธิภาพจะลดลงอย่างมากเท่านั้นเอง
อินเวอร์เตอร์ของคุณใช้งานได้ประมาณ 10-15 ปี แต่ในทุก ๆ ปีอินเวอร์เตอร์จะมีราคาลดลง
แบตเตอรี่โซลาร์ใช้งานได้ประมาณ 5 ถึง 15 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพและการดูแล
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นทุนในการเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ โปรดอ่านที่แนวทางเรื่องราคาของโซลาร์เซลล์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแผงโซลาร์เซลล์
ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์เรื่องการซื้อแผงโซลาร์เซลล์มาแล้ว หรือเป็นมือใหม่ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนก็ตาม เรามุ่งหวังที่จะให้ข้อมูลที่ครอบคลุมครบถ้วนเพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ ลองอ่านคำถามที่พบบ่อยจากลูกค้าของเราอีกเล็กน้อย
ฉันต้องติดแผงโซลาร์ที่บ้านของฉันกี่แผง
จำนวนนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ สถานที่ หากคุณมีแบตเตอรี่, ประสิทธิภาพของแผง และพลังงานที่คุณใช้ต่อเดือน โดยเฉลี่ยแล้วบ้านทั่วไปต้องใช้ประมาณ 10-20 แผงเพื่อให้ใช้ไฟฟ้าได้ครึ่งวัน หรือครอบคลุมตามความต้องการทั้งหมดในการใช้ไฟฟ้าต่อวันของคุณ
ติดแผงโซลาร์คุ้มไหม
คุ้มแน่นอน แผงโซลาร์คือส่ิงที่คุ้มค่าต่อการลงทุนหากคุณกำลังมองหาทางออกเรื่องพลังงานหมุนเวียนในระยะยาว โดยทั่วไปแล้ว แม้ว่าแผงโซลาร์จะคุ้มค่าเงินก็ตาม แต่ระยะเวลาของ ROI จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของระบบ การใช้งานไฟฟ้า การเงิน ฯลฯ
แบรนด์แผงโซลาร์เซลล์แบรนด์ใดดีที่สุด
การหาแบรนด์แผงโซลาร์ที่ดีที่สุดนั้นคือการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ สัมประสิทธิ์อุณหภูมิ และประกัน ในปัจจุบัน SunPower, REC, และ Panasonic ผลิตโซลาร์เซลล์ที่ดีที่สุดเพราะแผงเหล่านี้มีประสิทธิภาพสูง มีราคาที่ดี และมีประกัน 25 ปี