หลอดไฟโซล่าร์เซลล์ LED
กำลังคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้ไฟโซล่าร์ใช่ไหม? การเลือกไฟโซล่าร์เซลล์ LED อาจเป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวหากคุณเป็นคนที่ไม่ได้ตามเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เราจะสรุปข้อมูลให้คุณเข้าใจและเห็นภาพได้ง่าย ๆ เอง
หลอดไฟโซล่าร์เซลล์มีอยู่หลากหลายแบบและหลายราคาตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเข้มของแสง วัสดุที่ใช้ เวลาการใช้งานเมื่อเทียบกับเวลาชาร์จ ความจุแบตเตอรี่ เป็นต้น
ราคาชุดไฟโซล่าร์เซลล์
ในบทความนี้ เราอาจจะพูดถึงชุดไฟสำเร็จรูปเป็นหลัก สิ่งนี้คือชุดไฟโซล่าร์เซลล์ที่มีอุปกรณ์ครบชด ได้แก่ แผงโซล่าร์ แบตเตอรี่ สายไฟ และหลอดไฟ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ก็สามารถติดตั้งได้ หาซื้อได้ตาม Lazada, HomePro หรือ Big C โดยมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 200 บาทเท่านั้น
อายุการใช้งานของชุดไฟเหล่านี้มีตั้งแต่ 1 ถึง 8 ปีโดยขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้า มีประโยชน์มากหากคุณกำลังจะออกไปตั้งแคมป์ ขายอาหารที่ตลาด ทำงานในฟาร์ม หรือที่ไหนก็ได้ที่ต้องการใช้ไฟ แถมยังมีรุ่นที่ใหญ่จนสามารถนำไปติดเพื่อให้แสงสว่างกับถนน และเล็กมากจนสามารถนำไปตกแต่งสวนได้เลย
ปัจจัยสำคัญที่มากำหนดราคาคือค่าลูเมนที่แสงปล่อยออกมา สำหรับหลอดไฟ LED คุณจะต้องวัดความสว่างในหน่วยลูเมน ไม่ใช่วัตต์นะ
สินค้า | ใช้สำหรับ | ราคา | ค่าลูเมน | ระยะเวลาการใช้งาน | อายุการใช้งาน |
Lazada Solar Cell Lamp | ตั้งแคมป์ ซุ้มอาหาร สวน/โรงรถ ในบ้าน | ฿248 – 689 | 300-500 | 8 | ไม่ได้กล่าวถึง แต่ใช้ได้ประมาณ 3-5 ปี |
HomePro LED Floodlight | ลานจอดรถ สวน สนามกีฬา รีสอร์ต | ฿1,690 – 2,199 | 1000-2000 | 10-12 | 6-7 ปี |
Homepro Decorative Garden Light | ตกแต่งในสวน | ฿795 | 300 | 8-10 ชั่วโมง | ไม่ได้กล่าวถึง แต่ใช้ได้ประมาณ 3-5 ปี |
HomePro Solar Street Light | ไฟข้างถนน สวน พื้นที่ขนาดใหญ่ | ฿1,599 – 3,099 | 1000-4000 | 10-12 | 6-7 ปี |
ข้อเสียของชุดไฟโซล่าร์เซลล์
สำหรับคนทั่วไป ชุดไฟ LED ด้านบนก็เพียงพอแล้วสำหรับการใช้งาน สามารถติดตั้งได้ง่ายและใช้ได้ดีตามความต้องการ แต่ข้อเสียมีดังต่อไปนี้:
- เปลี่ยนชิ้นส่วนไม่ได้ – หากหลอดไฟแตก คุณจะต้องทิ้งทั้งชุดเลย
- คุณภาพต่ำ – ชุดไฟส่วนใหญ่แม้จะมีราคาถูกแต่ก็มาพร้อมคุณภาพที่ต่ำด้วย
- ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานจำนวนมาก – หากคุณต้องการใช้งานในสวนจำนวนหลายหลอด เราขอแนะนำให้คุณทำชุดไฟของตัวเองเพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าและแสงสว่างได้มากกว่า
ปัจจัยสำคัญเมื่อพิจารณาเลือกหลอดไฟ LED
ระบบไฟโซล่าร์เซลล์จะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของโซล่าร์เซลล์และขนาดของหลอดไฟโซล่าร์เซลล์ LED ดังนั้น หากคุณมีพื้นที่ขนาดใหญ่เราขอแนะนำให้ใช้แผงโซล่าร์เซลล์ที่มีคุณภาพและมีหลอด LED ขนาดใหญ่และจ้างช่างไฟฟ้าที่ผ่านการรับรองมาติดตั้งให้ แต่หากพื้นที่ขนาดเล็กและจำเป็นต้องใช้เพียงไม่กี่หลอด คุณก็สามารถทำได้เองจากที่บ้านเลย
สูตรคิดง่าย ๆ เลยก็คือ ยิ่งสว่างยิ่งต้องใช้พลังงานเยอะ ดังนั้นให้เลือกหลอดไฟที่สามารถปรับระดับความสว่างได้ เพื่อให้คุณสามารถควบคุมและใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ยิ่งใช้หลอดไฟที่มีพลังงานเยอะ คุณก็จะต้องมีโซล่าร์เซลล์และแบตเตอรี่ที่มากขึ้นเช่นกัน
ในส่วนต่อไปเราจะมาแนะนำวิธีการเลือกหลอดไฟ แผงโซล่าร์เซลล์ และแบตเตอรี่ให้เหมาะสำหรับการใช้งานไฟฟ้า LED แบบทำเอง
ประเภทของหลอดไฟ
หลอดไฟ LED ใช้พลังงานน้อยกว่าหลอดไส้ทั่วไป ช่วยให้คุณประหยัดพลังงานได้เกือบ 90% เลยทีเดียว นี่คือเหตุผลที่ทำไมหลอด LED จึงเหมาะสำหรับการใช้เป็นหลอดไฟโซล่าร์เซลล์มากกว่า
แต่ในปัจจุบันมีหลอดไฟ LED ให้เลือกใช้มากมายหลากหลายแบบ ทำให้คุณจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมต่อการใช้งาน หลอดไฟ LED สามารถแบ่งได้ตามการใช้งาน เช่น ในร่มและกลางแจ้ง หลอดไฟที่ใช้ในร่มอาจได้รับความเสียหายเมื่อโดนความชื้นหรือปัจจัยจากธรรมชาติ ส่วนหลอดไฟกลางแจ้งจะมีราคาแพงกว่าเนื่องจากมีความคงทนสภาพอากาศได้มากกว่า
หลอดไฟแต่ละแบบจะมีสิ่งที่เรียกว่า “ค่า UL” ซึ่งใช้วัดความสามารถของหลอดไฟในการทนต่อสภาพอากาศที่เปียกชื้น
ในร่ม
หลอดไฟ LED ที่พบบ่อยสำหรับชนิดนี้คือหลอดรูปทรงตัว A รูปทรงสปอตไลท์ และหลอดตกแต่ง โดยปกติแล้วจะมีหน้าตาเหมือนหลอดไส้ทั่วไป มักจะไม่ได้มีตัวโคมแถมมาด้วยหากไม่ได้ขายแบบสำเร็จรูป
กลางแจ้ง
หลอดไฟชนิดนี้ที่พบบ่อยได้แก่ หลอดทรงข้าวโพด ไฟสาดแสง และไฟทรง Shoebox ปกติแล้วหลอดไฟชนิดนี้จะปล่อยแสงออกมามากและมาพร้อมตัวโคม หลอดไฟ LED ไม่ได้ทำให้เกิดความร้อนมากนัก ทำให้คุณสามารถใช้ฝาครอบอะคริลิคได้โดยไม่ติดเหลืองและแสงจะออกมาเข้มเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ไฟทรง Shoebox ขนาด 60W ที่ใหญ่มากพอ จะสามารถใช้แทนหลอดเมทัลฮาไลด์หรือหลอดไฟโซเดียมความดันสูงขนาด 400W ได้เลย
หากคุณกำลังจะซื้อหลอดไฟกลางแจ้งดี ๆ หลายชิ้น เราขอแนะนำให้เลือกใช้แผงแบบโพลีคริสตัลไลน์หรือโมโนคริสตัลไลน์เพื่อสร้างไฟฟ้าให้มากพอสำหรับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่
หมายเหตุ : ชุดไฟโซล่าร์ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้ทำมาให้คุณสามารถเปลี่ยนหลอดเองได้ เมื่อหลอดหมดอายุแล้วคุณต้องซื้อชุดใหม่
ระดับความสว่าง
ความสว่างมีหน่วยวัดเป็นลูเมน ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกปริมาณแสงที่ออกมาจากหลอดไฟ
แสงไฟโซล่าร์เซลล์สามารถใช้งานได้ในหลากหลายสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นสนามเด็กเล่นหรือในสวนเล็ก ๆ ก็ใช้ได้ ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องรู้ก่อนว่าจริง ๆ แล้วจำเป็นต้องใช้กี่ลูเมน
ปริมาณลูเมนที่คุณต้องการนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้:
- พื้นที่ที่ต้องการส่องแสง
- ระยะที่ครอบคลุม
- อยากให้พื้นที่นี้สว่างมากแค่ไหน
นี่คือสรุปคร่าว ๆ เกี่ยวกับจำนวนหลอดไฟและลูเมนที่เหมาะสม:
- ไฟขั้นบันได: 12:100 ลูเมน
- ไฟติดผนัง: 50:200 ลูเมน
- ไฟนอกบ้าน: 50:300 ลูเมน
- ไฟทางเดิน: 100:250 ลูเมน
- ไฟสระว่ายน้ำ 200:400 ลูเมน
- ไฟเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว: 300:700 ลูเมน
- ไฟสาดแสง: 800+ ลูเมน
- สวนขนาดเล็ก (50 ตร.ม.): 1600 ลูเมน
- สวนขนาดกลาง (150 ตร.ม.): 2800 ลูเมน
- ไฟถนน: 5000+ ลูเมน
ประเภทแผงโซล่าร์เซลล์สำหรับหลอดไฟ LED
โซล่าร์เซลล์แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
แผงโซล่าร์เซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Mono-SI)
แผงโซล่าร์เซลล์โมโนคริสตัลไลน์มีอัตราการแปลงพลังงานมากกว่า 25% ทำให้กลาเยป็นแผงโซล่าร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในตลาด แต่ก็มาพร้อมกับราคาที่แพงเช่นเดียวกัน หากคุณมีพื้นที่จำกัดแต่ต้องการแสงสว่างที่มาก เราขอแนะนำเลย
แต่ชุดไฟโซล่าร์เซลล์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้เซลล์ชนิดนี้กัน เหตุผลหนึ่งเลยก็เพราะแพงและไม่คงทนเท่าแผงชนิดอะมอร์ฟัส แผงชนิดโมโนคริสตัลไลน์เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการแสงสว่างมากแต่มีพื้นที่จำกัด และใช้เวลาชาร์จแบตเตอรี่นาน
แผงโซล่าร์เซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (p-Si)
แผงโซล่าร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 10-20% อาจไม่ได้ดีเท่าโมโนคริสตัลไลน์แต่มาพร้อมกับชุดไฟ LED สำเร็จรูป นี่เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย บ้านทั่วไปและระบบโซล่าร์เซลล์ในอาคารพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า เลือกใช้แผงแบบโพลีคริสตัลไลน์กันเป็นส่วนใหญ่เพราะมีราคาถูกกว่าโมโนคริสตัลไลน์พอสมควร
อย่างไรก็ตาม หากเรานำมาใช้กับไฟ LED อาจไม่เหมาะเท่าไหร่เพราะไม่ค่อยทนทาน ต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก แผงหนึ่งต้องเตรียมพื้นที่ไว้เลยอย่างน้อย 20×20 ซม.
แผงโซล่าร์เซลล์ฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน (A-SI)
แผงโซล่าร์เซลล์ประเภทนี้ผลิตโดยใช้ฟิล์มบาง เซลล์อะมอร์ฟัสจะทำงานได้ดีกว่าแผงโมโนคริสตัลไลน์เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย ทำให้เหมาะมากสำหรับการใช้งานกับหลอดไฟโซล่าร์ขนาดเล็กทั้งในร่มและกลางแจ้ง สามารถงอได้ ใช้ทนมาก ๆ มักนิยมใช้เป็นไฟติดพื้นในสวน
แต่ข้อเสียใหญ่ ๆ เลยก็คืออัตราการแปลงแสงที่ต่ำเพียง 10% เท่านั้น นั่นหมายความว่าคุณสามารถใช้แผงโซล่าร์เซลล์ฟิล์มบางได้เฉพาะกับหลอดเล็ก ๆ
ประเภทแบตเตอรี่
ประเภทแบตเตอรี่คือปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนซื้อไฟโซล่าร์เซลล์
คุณควรเลือกใช้แบตเตอรี่ที่มีคุณภาพเนื่องจากไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาบ่อย และทำจากวัสดุที่ทนทาน โดยเฉพาะเมื่อใช้งานกลางแจ้งแบตเตอรี่จะมีความสำคัญมากๆ
แบตเตอรี่โซล่าร์เซลล์มีอยู่หลายแบบ แต่แบบที่ใช้กันบ่อยที่สุดในวงการหลอดไฟโซล่าร์เซลล์คือแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน แบตเตอรี่นิกเกิลแคดเมียม แบตเตอรี่นิเกิลเมตัลไฮไดร์ และแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด
เราขอแนะนำให้ใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนหรือนิเกิลแคดเมียมเพราะไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาใด ๆ เลย แถมยังใช้ชาร์จได้มากกว่า 1,000 รอบ
แบตเตอรี่ในชุดไฟโซล่าร์เซลล์สำเร็จรูปจะเริ่มเสื่อมสภาพหลังจากใช้งานไป 2-3 ปี โดยคุณจะสามารถใช้งานได้ประมาณ 30,000 ชั่วโมง (5-7 ปี) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของคุณด้วยเช่นกัน
ความจุแบตเตอรี่
ความจุแบตเตอรี่วัดกันในหน่วย mAH ย่ิงแบตเตอรี่มี mAH มากยิ่งใช้งานได้ยาวนาน แต่ก็ต้องใช้เวลาชาร์จนานเช่นเดียวกัน
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือเวลาการใช้งานของไฟโซล่าร์นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนหลอดไฟที่คุณใช้งาน หากคุณใช้หลอดไฟ LED 30 หลอด แบตเตอรี่จะหมดไวกว่าการใช้งานเพียง 10 หลอด
นอกจากนี้เรายังต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการชาร์จจากแสงแดดด้วย โดยปกติแล้วแสงโซล่าร์เซลล์ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมงในการชาร์จจนเต็ม และสามารถให้แสงสว่างได้ 10-12 ชั่วโมง
ความคงทนและความทนทานต่อสภาพอากาศ
ไฟโซล่าร์เซลล์ของคุณควรใช้งานข้างนอก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญมากคือวัสดุที่ใช้ทำหลอดไฟโซล่าร์จะต้องมีคุณภาพดี
เราแนะนำให้เลือกโคมไฟโซล่าร์ที่ทำจากสแตนเลส พลาสติก ABS และอะลูมิเนียมไดแคสต์
นอกจากเรื่องวัสดุแล้ว โคมไฟโซล่าร์ของคุณจะต้องกันน้ำกันฝนได้ด้วย ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องเช็กมาตรฐาน IP ของผลิตภัณฑ์เสมอ
มาตรฐาน IP หรือมาตรฐานป้องกันน้ำและฝุ่น คือมาตรฐานระดับสากลที่ใช้กำหนดประสิทธิภาพในการป้องกันของอุปกรณ์ไฟฟ้า
- PX0: ไม่กันน้ำ
- IPX1: ป้องกันน้ำหยดใส่
- IPX2: ป้องกันน้ำหยดใส่ในแนวตั้ง
- IPX3: ป้องกันละอองน้ำได้สูงสุด 60°
- IPX4: ป้องกันน้ำกระเด็น (ในทุกทิศทาง)
- IPX5: ป้องกันน้ำที่ฉีดด้วยแรงดันต่ำ
- IPX6: ป้องกันน้ำที่ฉีดด้วยแรงดันสูง
- IPX7: สามารถแช่น้ำได้ไม่เกิน 3 ฟุต (1 เมตร)
- IPX8: สามารถแช่น้ำได้มากกว่า 3 ฟุต (1 เมตร)
เราขอให้คุณซื้อชุดไฟโซล่าร์เซลล์ที่มีระดับตั้งแต่ IPX6 ถึง IPX6
สรุป
นอกจากที่ได้กล่าวมานี้ยังมีปัจจัยที่เสริมอื่น ๆ อีกเมื่อเลือกซื้อชุดไฟ ได้แก่ สีหลอดไฟ โหมดในการปรับไฟ และรีโมตควบคุม เป็นต้น โดยในตอนนี้คุณน่าจะเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับชิ้นส่วนในชุดไฟโซล่าร์สำเร็จรูปแล้ว
การเลือกไฟโซล่าร์เซลล์ LED นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานที่คุณต้องการ ที่ Siamcells เรายังมีข้อมูลเจาะลึกในเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น วิธีการตั้งไฟให้ดีที่สุดสำหรับทั้งในร่มและกลางแจ้ง ลองอ่านบทความด้านล่างได้เลย