ราคาแผงโซล่าเซลล์
Table of Contents
ราคาสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
ค่าไฟเพิ่มขึ้นสวนทางกับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ต่ำลง ทำให้หลาย ๆ บ้านและองค์กรสนใจที่จะลองใช้แผงโซลาร์เซลล์ ในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา ค่าไฟเพิ่มขึ้นมากถึง 60% ด้วยกัน ใครหลายคนจึงต้องการหาวิธีทางเลือกเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ต่อไปโดยไม่ต้องจ่ายบิลค่าไฟแสนแพงในทุกเดือน
คำถามแรกที่ทุกคนอาจสงสัยเวลาหาข้อมูลเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ก็คือ “การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ต้องใช้เงินเท่าไหร่?”
ถ้าให้ตอบแบบสั้น ๆ ครัวเรือนส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 100,000 บาท แต่ถ้าคำนวณแบบละเอียดจะต้องคำนึงถึงรายละเอียดอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ขนาดพื้นที่ ปริมาณการใช้ไฟต่อเดือน ตำแหน่งที่ตั้งของบ้าน เป็นต้น ดังนั้น สำหรับบ้านขนาดเล็กจะใช้เงินอยู่ที่ 100,000 บาท จนไปถึงบ้านขนาดใหญ่ที่อาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 300,000 บาท
คำถามต่อมาคือ “คุ้มไหม?”
คำตอบคือใช่หากคุณใช้เวลาอยู่บ้านในระหว่างวัน เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าได้เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้คุณจึงจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน หากคุณทำงานอยู่บ้าน คุณสามารถเปิดแอร์คอมพิวเตอร์ ทีวี หลอดไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ หากทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ประมาณ 5 ปี
แต่ถ้าคุณทำงานอยู่นอกบ้านตลอดก็อาจจะใช้เวลาประมาณ 8-9 ปีเพื่อให้คุ้มเงินที่ลงทุนไป ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่านานเกินไป
เจ้าของธุรกิจที่เปิดแอร์ ตู้เย็น และอุปกรณ์อื่น ๆ ในระหว่างวันจะคุ้มทุนในเวลา 1-2 ปี เจ้าของธุรกิจบางรายอาจนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาลดหย่อนภาษีและขายไฟฟ้าคืนกลับให้ทางการไฟฟ้าได้
ข้อมูลต่อไปนี้จะเจาะลึกลงในรายละเอียดมากขึ้น พร้อมตัวอย่างของการคิดราคาจริงสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในปี 2023 โดยคุณจะได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นคุ้มจริงหรือไม่
ทุกวันนี้คุณจ่ายค่าไฟเดือนละเท่าไหร่?
สิ่งที่ต้องคำนวณก่อนเลยคือทุกวันนี้คุณจ่ายค่าไฟอยู่ที่เท่าไหร่ และคุณจะใช้ไฟฟ้ามากแค่ไหนในอีกหลายปีข้างหน้า ปกติแล้วระบบแผงโซลาร์เซลล์จะใช้ได้ประมาณ 20-30 ปี
โดยปกติแล้วบ้านทั่วไปจะใช้ไฟอยู่ที่ประมาณ 3 kW ต่อเดือน โดยแอร์เป็นตัวที่กินไฟมากที่สุด คิดเป็น 50% ของปริมาณการใช้งานทั้งเดือน ส่วนตู้เย็น เครื่องซักผ้า แสงไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ มักจะคิดเป็นอย่างละ 5% เท่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นของจำเป็นที่ต้องมีกันทุกบ้าน
ค่าไฟในปี 2565
ค่าไฟไม่มีลด มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะคนเรามีความต้องการใช้พลังงานที่มากขึ้น ลองดูปี 2565 เป็นตัวอย่าง:
- มกราคม – เมษายน: ค่าไฟ 3.78 บาท/หน่วย
- พฤษภาคม – สิงหาคม: ค่าไฟ 4 บาท/หน่วย
- กันยายน – ธันวาคม: ค่าไฟ 4.72 บาท/หน่วย
ในเวลาเพียงสองเดือนขึ้น ค่าไฟขึ้นไปแล้วกว่า 25% และในปีต่อมาก็ไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลงเลยด้วย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แถลงว่าพวกเขาอาจจำเป็นต้องขึ้นราคาค่าไฟเป็น 6.03 หน่วย ในช่วงสิ้นเดือนเมษายน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 60% ในช่วง 15 เดือน!
การติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นไม่ได้พิจารณาเพียงสถานการณ์ในปัจจุบันเท่านั้น แต่เราต้องมองถึงอนาคตข้างหน้าด้วย
ราคาสำหรับการจ้างมืออาชีพ vs. DIY (ทำเอง)
เราขอแนะนำให้จ้างบริษัทมืออาชีพมาติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้กับคุณ แต่ถ้าหากคุณมีทักษะช่างอยู่แล้วก็สามารถทำเองได้เช่นเดียวกัน แต่คุณจะต้องขอใบอนุญาตและซื้ออุปกรณ์ที่ผ่านการรับรองจากทาง PEA
การจ้างให้บริษัทมืออาชีพมาติดตั้ง
นี่คือตัวอย่างที่คิดราคาจากบริษัทที่เชี่ยวชาญในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้งในระดับขนาดเล็กและขนาดกลาง บริษัทเหล่านี้เลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์นำเข้าอย่างดีจากแบรนด์นอกอย่าง Jinko และอินเวอร์เตอร์จาก Huawei บริษัทเหล่านี้ตั้งอยู่ในกรุงเทพแต่สามารถเดินทางไปได้ทั่วประเทศ
ราคาดังต่อไปนี้รวมค่าวัสดุ ค่าติดตั้ง และค่าขอใบอนุญาตจากทาง PEA แล้ว คุณจะได้รับประกันแผงโซลาร์เซลล์ 20 ปี ประกันอินเวอร์เตอร์ 10 ปี และประกันงานติดตั้ง 5 ปี
ความจุ | ราคา | ราคาต่อวัตต์ THB | พื้นที่บนหลังคาที่ต้องใช้ | ช่วงเวลาคืนทุน |
3 kW | 110,000 | 39 | 14 ตร.ม. | 5 ปี |
5 kW | 170,000 – 190,000 | 34-38 | 22 ตร.ม | 5.5 ปี |
10 kW | 290,000 | 29 | 44 ตร.ม. | 3-4 ปี |
DIY; ชุดแผงโซลาร์คุณภาพดี
ในแพ็กเกจนี้ เราได้รวบรวมแผงโมโนคริสตัลไลน์คุณภาพดีตั้งแต่แบบ 545 วัตต์ถึง 615 วัตต์จากบริษัทแผงโซลาร์เซลล์ที่ชื่อว่า Jinko ชุดนี้ประกอบด้วยทุกอย่างที่ต้องใช้ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เช่น อุปกรณ์จับยึด สายไฟ อินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ แผงเหล่านี้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ๆ ดังนั้นคุณจึงใช้พื้นที่บนหลังคาน้อยกว่าตัวอย่างด้านบน
ความจุ | ราคา | ราคาต่อวัตต์ THB | พื้นที่บนหลังคาที่ต้องใช้ | ช่วงเวลาคืนทุน |
3 kW | 92,000 | 31 | 14 ตร.ม. | 4 ปี |
5 kW | 143,000 | 29 | 18 ตร.ม | 4 ปี |
10 kW | 245,000 | 25 | 36 ตร.ม. | 3 ปี |
สำหรับการใช้งานระดับอุตสาหกรรม
หากคุณมีแผนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในระดับอุตสาหกรรม ราคาต่อวัตต์ก็จะถูกลงเยอะมากเมื่อเทียบกับการใช้งานที่บ้าน โดยอยู่ที่ประมาณ 20-28 บาท อ่านข้อมูลเพิ่มได้ที่บทความของเราที่เกี่ยวกับแผงโซลาร์เซลล์สำหรับธุรกิจและองค์กร
ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของโซลาร์เซลล์?
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์อยู่ที่คุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ที่คุณอยู่ และบริษัทที่คุณเลือกใช้บริการติดตั้ง
อุปกรณ์โซลาร์เซลล์
ค่าใช้จ่ายสำหรับโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่คุณภาพของอุปกรณ์เป็นหลัก ได้แก่ ตัวแผงและอินเวอร์เตอร์
คุณภาพของอุปกรณ์โซลาร์มีความหลากหลายเป็นพิเศษ ตัวแผงและอินเวอร์เตอร์เองก็เช่นกัน ยิ่งคุณภาพดีก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมาก ทำให้ได้ไฟฟ้าต่อตารางเมตรบนหลังคามากขึ้น อุปกรณ์ที่มีคุณภาพดีจะสามารถทนความร้อนได้ดีขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพของแผงดีขึ้นตามไปด้วย แผงระดับ Tier 1 มีประกันสูงสุด 30 ปี
แผงคุณภาพดีอาจต้องจ่ายแพงขึ้น 10-20% แต่แผงที่คุณภาพดีกว่าก็จะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าในพื้นที่ที่มีจำกัด เหมาะสำหรับคนที่มีหลังคาขนาดเล็ก
วิธีหาช่างมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นไม่มีสูตรสำเร็จ คุณควรขอใบเสนอราคาจากหลาย ๆ ที่เพื่อมาเปรียบเทียบกันเช่นเดียวกับการซื้อของชิ้นใหญ่ ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อให้ได้ของที่ดีในราคาที่คุ้มค่าที่สุด!
เมื่อคุณหาช่างผ่านแพลตฟอร์มการเปรียบเทียบราคา Siam Cells เรารับรองเลยว่าคุณจะใช้เงินน้อยลงแน่นอน เพราะเราคัดมาเฉพาะผู้ติดตั้งที่น่าเชื่อถือในราคาที่เหมาะสม